บทวิจารณ์

Sony ZV-E10 กล้อง Vlog ที่เป็นทุกอย่างให้เธอได้ | รีวิวโดย Mobile01

Article Categories

Mobile01 รีวิวและแชร์ประสบการณ์การทดลองใช้ฟีเจอร์ในกล้อง Sony ZV-E10 มาเช็คกันเลยว่าใช่กล้องที่ตามหาอยู่หรือเปล่า และจะใช้งานอย่างไรให้ผลงานออกมาดีที่สุด 

รูปลักษณ์ภายนอกและฟีเจอร์เด่นไม่ซ้ำใครของ ZV-E10  

ZV-E10 เป็นน้องใหม่ล่าสุดของ Sony อัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์มากมาย เป็นกล้องในตระกูล ZV รุ่นแรกที่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้มาพร้อมกับเซนเซอร์ APS-C Exmor CMOS 24.2 MP ไมโครโฟนภายในแบบ 3 แคปซูลหลายทิศทาง การติดตามแบบเรียลไทม์และโฟกัสอัตโนมัติตรวจจับดวงตาแบบเรียลไทม์ที่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อดวงตามนุษย์และสัตว์ ส่วนการบันทึกวิดีโอ กล้องสามารถถ่ายวิดีโอที่ 4K 30 fps ได้โดยไม่ถูกครอบ หรือ 1080p 120 fps เพื่อถ่ายสโลโมชันสุดเจ๋ง 

ZV-E10 มีไมโครโฟนบิวท์อินแบบหลายทิศทาง 3 ตัวซึ่งมีฝาครอบตาข่ายโลหะปกคลุมด้านบน นอกจากนี้ยังมีที่เสียบแฟลช hot shoe อัจฉริยะทางด้านซ้ายซึ่งสามารถใช้งานกับไฟแฟลช ทริกเกอร์ และไมโครโฟนบลูทูธ นอกจากนี้ยังสามารถติด “ม่านบังลม” เข้ากับตัวกล้องเพื่อช่วยลดเสียงลมรบกวน ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้โดยเฉพาะ 

คานชัตเตอร์และซูมออกแบบมาให้อยู่ที่ไหล่ขวาของกล้องอย่างเหมาะสมเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมสำหรับเลนส์ซูมไฟฟ้าหรือซูมภาพคมชัด / ซูมดิจิตอล แป้นหมุนเลือกโหมดการเปิดรับแสงในรุ่นก่อนอัปเกรดเป็นสวิตช์ "ปุ่มเดียว" ส่วนปุ่มบันทึกวิดิโอก็แยกออกต่างหากและเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ยังมีปุ่มกดให้แบคกราวน์หลุดโฟกัส ซึ่งช่วยให้สลับระหว่างแบคกราวน์ชัดและแบคกราวน์โบเก้ได้สะดวกง่ายในพริบตา 

แม้ว่าคุณภาพเสียงของไมโครโฟนในตัวจะใช้ได้ดีระดับหนึ่งแล้ว แต่ไมโครโฟนภายนอกก็สามารถใช้งานได้ไม่ยาก เพราะ ZV-E10 มาพร้อมกับแจ็ค 3.55 มม. นอกจากนี้ยังมีแจ็คมอนิเตอร์หูฟังรองเพื่อให้ตากล้องควบคุมความไวของคลื่นวิทยุได้มากขึ้น ตามมาตรฐานทั่วไปในปัจจุบัน ZV-E10 ยังมาพร้อมกับแจ็ค USB Type-C ที่ช่วยให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลและชาร์จแบตได้ หากมีแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว ก็สามารถใช้พาวเวอร์แบงค์ชาร์จแบตและถ่ายภาพไปพร้อมกันได้ 

จากซ้ายไปขวา ZV-1, ZV-E10 และ Alpha 6400

การเปรียบเทียบลักษณะภายนอกระหว่าง ZV-1, ZV-E10 และ Alpha 6400

ในแง่ของขนาด ZV-E10 อยู่ระหว่าง ZV-1 และ Alpha 6400 ZV-E10 มีแป้นหมุนเลือกคำสั่งอยู่ด้านบนอีกแป้น ซึ่งแตกต่างจาก ZV-1 กริปจับที่ยื่นออกมายังทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานด้วยมือเดียวอีกด้วย โครงสร้างด้านหลังเหมือนกัน แม้ว่าจะอยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างกันเล็กน้อย 

กริปควบคุมไร้สาย 

เมื่อการตั้งค่าครั้งแรกสำเร็จ กริป GP-VPT2BT ที่รองรับบลูทูธก็พร้อมใช้งาน ใช้งานได้ทั้งกับกริปและกับขาตั้งกล้อง ส่วนหัวหมุนได้หลายมุม สามารถถ่ายภาพทั้งแนวนอนและแนวตั้งได้ไร้ปัญหากวนใจ ตัวกริปมีปุ่มสำหรับถ่ายภาพนิ่ง บันทึกวิดิโอ และซูมช่วยทำให้ใช้งานและถือได้ง่ายขึ้นไปอีก

Product Showcase Set & คุณภาพเสียงใส  

ฟีเจอร์ที่เห็นในวิดีโอนี้เรียกว่า Product Showcase Set ซึ่งหมายความว่าในโหมดนี้ ระบบโฟกัสจะให้ความสำคัญกับวัตถุที่อยู่ใกล้กล้องมากที่สุด เมื่อหันหน้าเข้าหาเลนส์ ZV-E10 จะโฟกัสที่ 'บุคคล' ที่อยู่หน้าเลนส์เป็นหลัก ในการทดสอบวิดีโอ นางแบบใช้กล้องถ่ายขณะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว แต่ระบบโฟกัสก็เร็วพอที่จะตรวจจับนางแบบได้ โฟกัสได้อย่างเรียบเนียนและสุดท้ายก็ล็อคโฟกัสให้เข้าที่โดยไม่รู้สึกว่าโฟกัสกระตุกหรือดูไม่เป็นธรรมชาติ  

เอฟเฟกต์ผิวเนียน 

ZV-E10 ทำหน้าที่ปรับผิวคนในวิดีโอให้ดูเรียบเนียนได้ดีมาก โดยเน้นที่ผิวในเฟรมเท่านั้น รายละเอียดต่าง ๆ เช่น ผม เสื้อผ้า หรือหมวกแทบไม่ได้รับผลกระทบเลย

หน้าชัดหลังเบลอได้ด้วยปุ่มเดียว 

ฟีเจอร์โฟกัสพื้นหลังด้วยปุ่มเดียวมีเฉพาะใน ZV-E10 หลังจากรุ่น ZV-1 รุ่นนี้สามารถควบคุมรูรับแสงทั้งหมดได้สะดวกมากขึ้นด้วยการกดปุ่มเดียว ก่อนหน้านี้ต้องใช้แป้นหมุนเพื่อปรับรูรับแสง แม้ว่ารูรับแสงกว้างสุดของ E PZ 16-50 mm F3.5-5.6 OSS จะไม่ใหญ่เท่ากับของรุ่น ZV-1 แต่รุ่น ZV-E10 ก็มีข้อได้เปรียบตรงขนาดของเซนเซอร์ APS-C สำหรับระยะชัดลึก ซึ่งจะช่วยให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ยังคงใช้งานได้จริงเมื่อต้องใช้ ISO สูง 

การติดตาม Eye AF แบบเรียลไทม์สำหรับการถ่ายวิดีโอ 

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กล้อง Sony รุ่นใหม่เริ่มรองรับระบบโฟกัสใบหน้า/ตาอัตโนมัติ การติดตามแบบเรียลไทม์ไม่เพียงรองรับการถ่ายภาพนิ่งเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับการถ่ายวิดีโอด้วยโดยเฉพาะเมื่อถ่ายเซลฟี่ เพราะมีเลนส์ที่มีรูรับแสงขนาดใหญ่ ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ ZV-E10 สำหรับการติดตามโฟกัสอัตโนมัติ สิ่งที่ตากล้องต้องทำคือแค่โฟกัสไปที่การแสดงออกของตัวแบบเท่านั้นเอง 

Clear Image Zoom  

ZV-E10 เก็บรายละเอียดได้มากกว่าที่คิดไว้ที่ 4K 30fps พร้อมฟีเจอร์ Clear Image Zoom ซูมภาพคมชัด 1.5 เท่า ซึ่งช่วยขยายทางยาวโฟกัสเทียบเท่าเดิมจาก 75 มม. เป็น 112.5 มม. ซึ่งช่วยได้มากในสถานการณ์ที่ผู้ใช้ไม่มีเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสที่ต้องการ

การเปรียบเทียบระบบกันภาพสั่นระหว่าง Standard กับ Active

ZV-E10 มีกลไกป้องกันภาพสั่นสองโหมด โหมดแรกคือ "standard" ซึ่งเป็นระบบป้องกันภาพสั่นของเลนส์และเลนส์ต้องมี OSS ในตัว อีกโหมดหนึ่งคือโหมด "active" ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง OSS ของเลนส์และระบบป้องกันภาพสั่นอิเล็กทรอนิกส์ของตัวกล้อง ดังนั้นเมื่อเลือกโหมด "active" ผู้ใช้จะเจอเอฟเฟกต์ชัตเตอร์หมุนแน่นอนเมื่อถ่ายวิดิโอซึ่งจะถูกครอบประมาณ 1.3 เท่าด้วย ฟีเจอร์นี้สามารถเปิดหรือปิดได้ตามดุลยพินิจของผู้ใช้ วิดีโอทดสอบแสดงความเสถียรของภาพเมื่อนางแบบถือกล้องถ่ายเซลฟี่และช็อตที่ตากล้องถือกล้องถ่ายขณะนางแบบเดิน 

วิดีโอ S&Q 

Sony ZV-E10 รองรับสโลโมชันเพียงประเภทเดียวเท่านั้นคือ "S&Q" เป็นหนึ่งในสามโหมดในปุ่ม "MODE" ตรงด้านบนของกล้อง โหมดภาพนิ่งช่วยให้ถ่ายภาพนิ่งตามการตั้งค่าที่ต้องการโดยปรับความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสง ในทางกลับกัน โหมดภาพยนตร์จะตั้งค่ากล้องให้ถ่ายทำด้วยการจดจำฉากอัตโนมัติ ในโหมด "S&Q" สามารถตั้งค่าอัตราเฟรมเพื่อให้ได้เอฟเฟกต์ไทม์แลปส์หรือสโลโมชัน ตัวอย่างเช่น 1fps เป็นการถ่ายภาพเพียงหนึ่งภาพต่อวินาที ดังนั้นยิ่งระยะเวลาการถ่ายภาพนานเท่าใด ก็ยิ่งเหมาะสำหรับการบันทึกภาพแบบไทม์แลปส์มากขึ้นเท่านั้น วิดีโอนี้ถ่ายที่อัตราเฟรม 1080p 120fps และตั้งค่าให้เล่นที่ 24 เฟรมต่อวินาที ผู้ใช้จะได้วิดีโอ 1080p ที่ช้ากว่า 5 เท่าได้เลยหลังจากถ่ายเสร็จ S&Q รองรับ AF-C และโฟกัสดวงตาอัตโนมัติระหว่างถ่ายวิดิโออีกด้วย 

อ่านรีวิวกล้อง ZV-E10 ต้นฉบับของ Mobile01 ได้ที่นี่ บทรีวิวต้นฉบับเป็นภาษาจีนตัวเต็ม และแปลเป็นภาษาไทยเพื่อจุดประสงค์ของบทความนี้ 

Article Theme

Kami ingin meminta akses ke Geolokasi Anda untuk memberi Anda pengalaman yang disesuaikan. Perlu diketahui bahwa Anda dapat menarik persetujuan Anda kapan saja melalui pengaturan browser Anda.