Alpha 1 เปิดตัวแรงดั่งฟ้าฟาด | รีวิวโดย Mobile01
Mobile01 รอไม่ไหวอยากจะทดลองใช้ Alpha 1 รุ่นใหม่ล่าสุดและทดสอบประสิทธิภาพที่ได้รับการพัฒนาแล้วมาให้ทุกคนได้อ่านรีวิวกัน ทีมงานลองเล่นฟีเจอร์ใหม่ เช่น ความสามารถในการถ่ายภาพต่อเนื่องและเซนเซอร์ซ้อนแบบใหม่ และเปรียบเทียบกับกล้อง Sony รุ่นอื่นอย่างละเอียด เพื่อให้เห็นว่าประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใหม่ใน Alpha 1 เป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับรุ่นอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยม อ่านต่อกันเลยเพื่อดูว่า Alpha 1 ตอบโจทย์เราหรือไม่
ความประทับใจแรก
ทีม Mobile01 เชื่อสนิทใจเลยว่า Alpha 1 สามารถครองโลกกีฬาและสื่อสารมวลชนได้แน่นอน ทันทีที่ทีมงานเห็นความเร็วในการเปลี่ยนการถ่ายภาพต่อเนื่องจาก 24MP, 20fps เป็น 50MP, 30 fps โดยไม่มี blackout และไม่ถูกครอบรูป ทีมงาน Mobile01 ยังทึ่งกับการบันทึกวิดิโอ 8K ซึ่งถือว่าเป็น “สเปคทรงพลังชั้นสูงที่สร้างความฮือฮาให้วงการถ่ายภาพ”
การเพิ่มเซ็นเซอร์แบบเรียงซ้อนและระบบโปรเซสเซอร์ประมวลผลคู่ BIONZ XR ก็ทำให้ว้าวได้เพราะมีความสามารถในการสร้างไฟล์รูปขนาดใหญ่ด้วยความเร็วสูง Alpha 1 มีโปรเซสเซอร์คู่ BIONZ XR เหมือนกับ Alpha 7S III แต่ใน Alpha 1 ได้รับการปรับแต่งพัฒนาให้ละเอียดเป็นพิเศษ โปรเซสเซอร์คู่ที่พัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้นนี้ทำให้กล้องให้ความเร็วในการอ่าน CMOS สูงพิเศษ หน่วยความจำขนาดใหญ่ และประสิทธิภาพการประมวลผลที่รวดเร็วเป็นพิเศษ ในขณะเดียวกัน เซ็นเซอร์แบบเรียงซ้อนของ Alpha 1 มีโครงสร้างเดียวกับ Alpha 9, Alpha 9 II และ RX100 VII ทีม Mobile01 ยืนยันว่าฟีเจอร์ทั้งสองนี้เป็นสิ่งที่ทำให้กล้องมีประสิทธิภาพสูงและสเปคที่แข็งแกร่งขั้นสุดนี้นั้นหาได้ยากจากผู้ผลิตรายอื่น
Alpha 1 ยังเพิ่มโฟกัสอัตโนมัติจับดวงตานกให้สำหรับช่างภาพนกและผู้สร้างคอนเทนท์อื่น ๆ ที่ต้องการ "ความละเอียดสูงพิเศษและความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องสูงเป็นพิเศษ" ทำให้ Alpha 1 อัพเลเวลยิ่งขึ้นไปอีก
รีวิวนี้ได้ทดสอบฟีเจอร์ใหม่ของกล้องในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนพอร์ตที่เพิ่มขึ้น ตัวเชื่อมต่อแฟลชซิงโครไนซ์ ประสิทธิภาพ ISO และแม้กระทั่งรายละเอียดที่ซับซ้อนที่สุดที่คนเล่นกล้องจะต้องชอบใจอย่างแน่นอน Mobile01 ยังเช็คเรื่องความเร็วการถ่ายโอน USB ของ Alpha 1 ซึ่งเรียกว่าเป็น "ตัวเดิมพันที่ดีที่สุด" ของช่างภาพสำหรับการเชื่อมต่อที่เร็วที่สุด
ตัวกล้อง
นอกจากจอ LCD ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อความสะดวกสบายในการดูรูปแล้ว Alpha 1 ยังมีพอร์ตมากที่สุดในบรรดากล้องมิเรอร์เลสของ Sony พอร์ตประกอบด้วยช่องเสียบสาย LAN ที่รองรับ 1000BASE-T ขั้วต่อแฟลชซิงโครไนซ์ และพอร์ต Micro USB นอกจากนี้ยังมีแจ็คไมโครโฟน แจ็คเสียง 3.5 มม. พอร์ต HDMI Type-A และ USB 3.2 ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลที่น่าทึ่งถึง 1212MB ต่อวินาที
ช่องเสียบเมมโมรี่การ์ดคู่รองรับการ์ด UHS-II SDXC การ์ด CFexpress Type A รุ่นใหม่ เหมือนกับ Alpha 7S III
รีวิวนี้ยังเน้นที่เซ็นเซอร์อินฟราเรดไวท์บาลานซ์ที่ด้านหน้าของกล้อง ช่วยให้อ่านไวต์บาลานซ์ได้แม่นยำยิ่งขึ้นโดยส่งข้อมูลไปยังเซ็นเซอร์ CMOS โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านเลนส์
ชัตเตอร์ของ Alpha 1 ก็ดีขึ้นเช่นกัน อย่างแรกคือออกแบบให้มีม่านชัตเตอร์ที่จะปิดโดยอัตโนมัติเมื่อปิดกล้อง เพื่อลดโอกาสที่ฝุ่นจะเข้าไปเมื่อถอดเลนส์ออก นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เรียกว่า 'ชัตเตอร์ขับเคลื่อนคู่' ซึ่งมาพร้อมกับระบบควบคุมสปริงแบบดั้งเดิมและไดรฟ์แม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเร่งความเร็วของม่านชัตเตอร์ หล่อลื่นชัตเตอร์เวลาทำงาน และทำให้ใช้ความเร็วได้อย่างดีที่สุด ซึ่งช่วยให้กลไกชัตเตอร์ซิงค์กับแสงแฟลชที่ความเร็ว 1/400 วินาที
Mobile01 ยังรีวิวตำแหน่งจัดวางปุ่มของ Alpha 1 ว่า “ความลึกของแต่ละปุ่มกำหนดไว้อย่างพอดีและทิศทางของจอยสติ๊กก็เฉียบขาด เราพูดได้ว่านี่เป็นระบบการจัดวางปุ่มที่ทำออกมาค่อนข้างดี”
Alpha 1 สามารถติดตั้งได้ด้วยกริ๊ปแนวตั้ง รุ่น VG-C4EM ซึ่งใช้ได้กับของรุ่น Alpha ก่อนหน้านี้
ฟังก์ชั่นเด่น
ชัตเตอร์และเซ็นเซอร์ภาพซ้อน
นอกเหนือจากความสามารถในการโฟกัสที่ได้รับการพัฒนาแล้ว ความก้าวหน้าขั้นสูงสุดของ Alpha 1 อยู่ที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันของเซ็นเซอร์ภาพแบบซ้อนและชัตเตอร์ รีวิวนี้อธิบายประเด็นสำคัญว่า Alpha 1 ทำลายขีดจำกัดความเร็วชัตเตอร์กลไกรุ่นก่อนสำหรับการซิงโครไนซ์แฟลชกับชัตเตอร์แบบขับเคลื่อนคู่รุ่นใหม่ซึ่งใช้สปริงและไดรฟ์แม่เหล็กไฟฟ้าได้อย่างไร ซึ่งช่วยให้ความเร็วในการซิงโครไนซ์แฟลชสูงถึง 1/400 วินาที หมายความว่าสามารถถ่ายภาพด้วยชัตเตอร์ 2/3 EV ที่ต่ำกว่าเดิม ความเร็วชัตเตอร์นี้ทำให้เซ็นเซอร์ CMOS มีความไวต่อแสงมากขึ้น ลดเวลาการรับแสงของ CMOS ทั้งหมด และลดแสงโดยรอบลง ทำให้ผู้ใช้มีอิสระในการสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น การอ่านค่า CMOS ที่รวดเร็ว "เหนือกว่าเซนเซอร์ CMOS ทั่วไปในอดีต" และทีม Mobile01 ได้พิจารณาแล้วว่าช่างภาพสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์นี้เพื่อ "ควบคุมแสงโดยรอบและเพิ่มอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานมากขึ้น"
Mobile01 รับรองว่าชัตเตอร์แบบขับเคลื่อนคู่จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานตามปกติของผู้ใช้เลย เวลาชัตเตอร์กลไกขั้นต่ำยังคงเป็น 1/8000 วินาที
“ตราบใดที่ความเร็วน้อยกว่าระดับนี้ ชัตเตอร์ก็จะปรากฏขึ้นพร้อมกับที่ม่านชัตเตอร์อันแรกและอันที่สองตกลงมา เนื่องจากขีดจำกัดความเร็วของโครงสร้างทางกลไม่สามารถทำให้ CMOS ทั้งหมดเปิดเป็นเวลา 1/8000secs ต่อวินาทีในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงทำได้ลักษณะที่คล้ายกับการสแกนจากที่ม่านชัตเตอร์ด้านหน้าและด้านหลังตกลงมา อย่างไรก็ตาม ด้วยวิธีนี้ CMOS ทั้งหมดจะไม่ถูกแสงแฟลช และภาพจะถูกบังด้วยม่านชัตเตอร์ เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมความเร็วการซิงโครไนซ์ของม่านชัตเตอร์ฟูลเฟรมจึงถูกจำกัดไว้ที่ 1/250 ถึง 1/320 วินาที” Mobile01 อธิบายลงรายละเอียดเทคนิคการทำงานของชัตเตอร์
ชัตเตอร์แบบขับเคลื่อนคู่ของ Alpha 1 มีสร้างมาเพื่อทำลายขีดจำกัดนี้ “วิศวกรของ Sony ได้ใช้ไดรฟ์แม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อทำให้ชัตเตอร์ตกลงเร็วขึ้น เพื่อให้กล้องสามารถลดเวลาการรับแสงของเซ็นเซอร์ CMOS ทั้งหมดลงเหลือ 1/400secs ของหนึ่งวินาทีแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน”
"การลดความเร็วการซิงโครไนซ์ชัตเตอร์ให้น้อยลงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับช่างภาพ แม้ว่า 2/3 EV จะไม่มากนัก แต่การที่ผู้ผลิตเริ่มคำนึงถึงสิ่งนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ" Mobile01 รีวิว
การที่ Alpha 1 มีชัตเตอร์กลไก ทำให้ไม่มีเอฟเฟกต์ชัตเตอร์หมุนที่มองเห็นได้ ซึ่งมักจะปรากฏเมื่อกล้องสั่นระหว่างการถ่ายภาพที่ไม่เสถียร เช่น ในการถ่ายภาพโดยถือกล้องด้วยมือหรือถ่ายยานพาหนะ “ไม่ใช่ว่าไม่มีเลย แต่เอฟเฟกต์ชัตเตอร์หมุนนั้นน้อยมาก ม่านชัตเตอร์แบบกลไกมีเวลาตกที่สั้นมาก สั้นมากจนวัตถุต้องเคลื่อนที่เร็วมากเพื่อให้รู้สึกถึงความแตกต่างของเวลาระหว่างแถวของเซ็นเซอร์ CMOS ด้านบนและด้านล่างอันเนื่องมาจากชัตเตอร์กลไก”
เซ็นเซอร์ภาพ CMOS ของ Alpha 1 ทำงานร่วมกับระบบประมวลผล BIONZ XR เพื่อลดเอฟเฟกต์ชัตเตอร์หมุนได้โดย 1. พื้นที่ประมวลผลสัญญาณที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่ามาก ซึ่งประมวลผลสัญญาณได้ดีขึ้นและเร็วขึ้น 2. ฟิลเตอร์สีที่มีพื้นที่ใช้สอยกว้างกว่า และ 3. เซ็นเซอร์ภาพที่มีแคชเป็นของตัวเอง ทำให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลจำนวนมากไปยัง CMOS ได้ก่อนที่จะถึงโปรเซสเซอร์ เลเยอร์เหล่านี้ช่วยลดความแตกต่างของเวลาระหว่างการเดินทางของ CMOS จากบนลงล่าง ทำให้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์สามารถซิงโครไนซ์กับแฟลชได้ที่ความเร็ว 1/200 วินาที “เราเชื่อว่าคุณสมบัติของ Alpha 1 ที่มีค่าที่สุดของกล้องนี้ไม่ใช่แค่ความสามารถในการโฟกัสหรือ 50MP แต่เป็นการพัฒนาที่ก้าวล้ำของการทำงานร่วมกันของเซ็นเซอร์แบบซ้อนและชัตเตอร์” Mobile01 กล่าวในรีวิว
ความสามารถในการถ่ายภาพต่อเนื่อง
โปรเซสเซอร์คู่ BIONZ XR อันทรงพลังของ Alpha 1 ทำให้สามารถถ่ายภาพได้ 10 เฟรมต่อวินาทีโดยใช้ชัตเตอร์กลไก และ 30 เฟรมต่อวินาทีโดยใช้ชัตเตอร์กลไก สำหรับไฟล์ X.FINE JPEG ผู้ใช้สามารถถ่ายได้สูงสุด 182 เฟรม รวมกันที่ประมาณ 6 วินาที หากมีพื้นที่เก็บข้อมูลจำกัด คุณภาพปกติสามารถบันทึกภาพได้สูงสุด 400 ภาพ โดยกดชัตเตอร์ต่อเนื่อง 13 วินาที สำหรับไฟล์ RAW compressed กล้องรุ่นนี้สามารถถ่ายภาพได้มากถึง 238 ภาพ และบันทึกวิดิโอได้มากถึง 82 ช็อต
ทีมงานของ Mobile01 รู้สึกทึ่งกับฟีเจอร์นี้มาก กล่าวว่า “ความเร็ว 30fps จริง ๆ แล้วเทียบเท่ากับวิดีโอ ดูความเรียบเนียนสุดว้าวนี่สิ!”
ออโต้โฟกัสจับดวงตานก
Mobile01 ยังใช้เวลาลงลึกทดสอบการเพิ่มความสามารถในการโฟกัสสำหรับตานกในฟีเจอร์ Real-time Eye AF และอธิบายอัตราการจดจำดวงตาของนกที่ได้ผลสำเร็จสูง เราเดินทางไปที่สวนเชิงนิเวศและพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อรีวิวทดสอบฟีเจอร์ใหม่และถ่ายนกกระทุง นกแก้ว นกปากช้อนหน้าดำ และนกป่าอื่น ๆ ฟีเจอร์นี้ยังตรวจจับดวงตามนุษย์ ซึ่งยังคงเป็นจุดแข็งที่เด่นสุด และดวงตาของสัตว์อื่น ๆ ดังนั้นทีมจึงลองใช้ถ่ายอัลปาก้าด้วย Mobile01 ชอบฟีเจอร์Real-time Eye AF มากโดยกล่าวว่าคุณสมบัตินี้มี "การติดตามผลสูงสุดและความน่าเชื่อถือที่ดีที่สุด"
ทีมงานของ Sony บอกว่าการโฟกัสดวงตานกนั้นไม่ได้ 100% เนื่องจากมีบางสถานการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถจดจำตานกได้ทั้งหมด หนึ่งในสถานการณ์ที่ดูไม่น่าเกิดขึ้นจริงแต่ก็มีเหตุผลคือ เมื่อตาของนกทั้งตาซ้ายและตาขวาอยู่ในเฟรมเดียวกัน การโฟกัสดวงตานกจะถูกปิดใช้งาน และเราไม่สามารถเลือกระหว่างตาซ้ายและตาขวาได้ นี่เป็นเพราะว่านกมีขอบเขตการมองเห็นที่กว้างกว่ามนุษย์ และโดยปกติเราจะเห็นนกป่าใช้ตาข้างเดียวหันเข้าหาเรา ดังนั้นกล้องจึงออกแบบมาให้โฟกัสที่ตาข้างเดียวเท่านั้น” Mobile01 กล่าว
รีวิวยังระบุด้วยว่าฟีเจอร์นี้มีไว้สำหรับ 'ตานก' ไม่ใช่ 'หน้านก' นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าอาจมีบางสถานการณ์ที่ออโต้โฟกัสดวงตานกจะไม่ทำงานเลย เช่น ในกรณีที่มองไม่เห็นตานกในเฟรมหรือเมื่อมีนกจำนวนมากเกินไปแล้วกล้องไม่สามารถโฟกัสที่ตาข้างเดียวได้ ในกรณีเช่นนี้ Alpha 1 จะเปลี่ยนไปใช้การตรวจจับโฟกัส 4D แทนทำให้ผู้ใช้ยังคงได้โฟกัสแบบที่ต้องการ
“อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ เราสามารถเปิดโฟกัสดวงตานกหลังจากถ่ายรูปนกแล้วได้ กล้องจะทำการตรวจจับโฟกัส 4D เองเมื่อตรวจไม่พบตานก” Mobile01 รีวิว “ท้ายที่สุดแล้ว การจดจำใบหน้า/ดวงตายังคงเป็นจุดเด่นของระบบโฟกัสนี้ การล็อคโฟกัสมีอัตราการติดตามที่ได้ผลสูงสุดและความน่าเชื่อถือที่ดีที่สุด”
แกลเลอรี่
ประสิทธิภาพ ISO
Mobile01 รีวิวเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Alpha 1 และ Alpha 7R IV ที่ระดับ ISO ต่าง ๆ ตั้งข้อสังเกตว่าทั้งสองรุ่นมี CMOS ที่ได้รับแสงด้านหลังด้วยคุณภาพของภาพที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ แม้พิกเซลจะมีความแตกต่างกัน แต่ขนาดภาพถ่ายจากกล้องทั้งสองตัวก็ไม่ได้ห่างกันมากนัก
หลังจากลองถ่ายไปไม่กี่ช็อตก็สังเกตว่าความแตกต่างได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะที่ ISO 12800 แม้ว่ารายละเอียดจะใกล้เคียงกัน แต่ Alpha 7R IV มีจุดรบกวนมากกว่า Alpha 1 มาก ซึ่งหมายความว่าการจัดการสัญญาณรบกวน ISO สูง “ยอดเยี่ยมจริง ๆ”
Alpha 7S III เด่นด้านประสิทธิภาพ ISO สูงสามารถไปถึง ISO 409 และ ISO 600 ซึ่งสูงมากได้ จากนั้นจึงทดสอบ Alpha 7S III เพื่อเปรียบเทียบกับ Alpha 1 รุ่นหลักในแง่ของสัญญาณรบกวนวิดีโอ ISO สูง
“สิ่งหนึ่งที่อยากให้ดูเป็นพิเศษคือ ISO 3200 ของ Alpha 1 นั้นเทียบเท่ากับประสิทธิภาพของ Alpha 7S III ดีกว่า Alpha 7S III ที่ ISO 6400 ด้วยซ้ำไป แต่เรารู้ดีว่าเมื่อ Alpha 7S III ถ่ายภาพด้วย S-Log3, ISO 12800 ทำให้เกิดสัญญาณรบกวนชัด เกินกว่า ISO 12800 แล้ว Alpha 7S III ยังคงเป็นผู้ชนะ โดยมี Alpha 1 ตามหลังมาติด ๆ ส่วน Alpha 7R IV ไม่เคยเทียบได้เลย” Mobile01 กล่าว
การจัดการ ISO สูงนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนพิกเซลและความสามารถของโปรเซสเซอร์ของกล้อง เนื่องจาก Alpha 7S III ออกแบบมาให้มีพิกเซลต่อหน่วยพื้นที่มากขึ้น และมีจำนวนพิกเซลที่น้อยกว่า จึงครองชัยชนะในหมวดหมู่ ISO สูง อย่างไรก็ตาม 50 ล้านพิกเซลของ Alpha 1 ยังคงทำงานได้ประสิทธิภาพที่คล้ายกับ Alpha 7S III ซึ่งผู้รีวิวก็ต้องยอมรับว่าดีจริง ๆ
ความละเอียด 50 ถึง 200 เมกะพิกเซล
Alpha 1 มีโหมดการถ่ายภาพหลายช็อตแบบเปลี่ยนพิกเซล ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกภาพสี่ภาพและรวมภาพเข้าด้วยกันเพื่อสร้างภาพเดียวที่มีคุณภาพสูงพิเศษที่ 50.1MP หรือรวม 16 เฟรมเป็นภาพเดียวเพื่อสร้างภาพถ่าย 199MP ทั้งหมดนี้ทำได้ด้วยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ Imaging Edge ของ Sony
|
แม้ว่าชัตเตอร์ของการเลื่อนพิกเซลแต่ละครั้งจะต้องใช้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้สามารถสั่งใช้แฟลชได้อย่างง่ายดายในแต่ละช็อต โดย Alpha 1 มีความเร็วในการซิงโครไนซ์แฟลช 1/200 วินาที ด้วยวิธีนี้ ช่างภาพยังคงถ่ายภาพที่มีความละเอียดสูงพิเศษโดยใช้งานกล้องตามปกติโดยไม่ต้องคิดหาวิธีสั่งใช้แฟลชแบบใหม่ ฟีเจอร์นี้เหมาะที่สุดสำหรับช่างภาพที่ต้องการผลงานภาพขนาดใหญ่ขึ้น
วิดีโอ 8K
ความละเอียดของวิดีโอมาตรฐาน 8K คือ 7680 x 4320 4:2:0 10 บิต โดยมีการประมวลผล 33.17 ล้านพิกเซลที่ 30fps อย่างไรก็ตาม รูปแบบของวิดีโอ 8K ของ Alpha 1 เป็น H.265 บังคับสำหรับ XAVCS HS Mobile01 แนะนำให้ผู้ใช้อัพเกรดคอมพิวเตอร์หากจะใช้งานกับการวิดิโอคุณภาพดังกล่าว
“นอกจากนี้ยังเป็นเพราะรูปแบบ H.265 ที่สตรีมของวิดีโอ 8K คือ 400Mbps ซึ่งต่ำกว่าสตรีมสูงสุดของ Alpha 1 หากต้องการความเร็วสูงสุดที่ 600Mbps ให้ใช้ตัวเลือก 4K XAVCS-I 4: 2: 2 10bit Alpha 1 ยังสามารถส่งออกวิดีโอ RAW ที่ความละเอียด 4332 x 2448 และอัตราสูงสุด 16 bit ได้แต่ทาง HDMI เท่านั้น” Mobile01 รีวิว
การทดสอบความร้อน
ขั้นสุดท้าย ทีม Mobile01 นำ Alpha 1 ไปทดสอบอุณหภูมิกล้องโดยใช้กล้องในพื้นที่ปิดที่อุณหภูมิห้อง 28-30 องศาโดยไม่มีลม เพื่อลองใช้ฟีเจอร์ป้องกัน overheating
เปิดโหมดการป้องกัน overheat และวัดอุณหภูมิ 15 นาทีหลังจากการเครื่องบังคับชัตดาวน์ (Mobile01 ไม่สามารถวัดตอนเครื่องกำลังปิดได้)
ปิดโหมดการป้องกัน Overheat และได้อุณหภูมิเกิดขึ้นหลังจากอัดวิดิโอนาน 2:28 นาที อุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ที่บริเวณด้านหลังเซ็นเซอร์
ตารางคำเตือน Overheat และเวลาบังคับชัตดาวน์
|
ทีมพยายามบันทึกวิดีโอ 8K แบบเปิดโหมดป้องกัน Overheat หลังจากอัดวิดิโอไป 17 นาที 30 วินาที กล้องขึ้นคำเตือนทันที จากนั้นจึงบังคับชัตดาวน์ปิดกล้องหลังจาก 24 นาที 25 วินาที หลังจากปิดเครื่องไป 15 นาที อุณหภูมิก็สูงถึง 39.7°C
จากนั้นทีมงานก็บันทึกวิดีโอ 8K อีกอัน แต่คราวนี้ปิดโหมดป้องกัน Overheat กล้องใช้เวลานานกว่าสองชั่วโมงกว่าจะขึ้นคำเตือนความร้อนสูงเกินไป และไม่บังคับชัตดาวน์ปิดเครื่อง หลังจากที่ทีมงานกดปิดเครื่องเอง อุณหภูมิพุ่งสูงถึง 58.7°C
“คิดว่าถ้าเราปิดโหมดป้องกันOverheat เราน่าจะสามารถใช้กล้องตามความต้องการในการถ่ายภาพส่วนใหญ่ของเราได้” Mobile01 กล่าว
รีวิวโดยสรุป
โดยรวมแล้ว ทีม Mobile01 ได้เน้นย้ำและชื่นชมความสามารถที่โดดเด่นมากมายของ Alpha 1
“ส่วนตัวแล้ว การถ่ายภาพต่อเนื่อง 50.1MP 30fps เป็นเพียงหนึ่งในความพิเศษมากมายของ Alpha 1 แค่ดูที่สเปคอย่างเดียวโดยที่ไม่ดูบริบทการใช้งานไม่สามารถตัดสินได้เด็ดขาดได้ อย่างไรก็ตาม หากเราต้องการเริ่มตั้งแต่ต้น เราต้องย้อนไปดูที่เซ็นเซอร์ของ Alpha 1 และโปรเซสเซอร์คู่ Bionz XR แบบพิเศษในกล้อง” ทีมงานกล่าว
“โปรเซสเซอร์คู่ Bionz XR ที่ออกแบบขึ้นมาเฉพาะสำหรับ Alpha 1 จะต้องสามารถสร้างไฟล์รูปขนาดใหญ่ที่ความเร็วสูงด้วยเซ็นเซอร์ CMOS 50.1MP นอกจากนี้ยังทำการคำนวณโฟกัส การลดสัญญาณรบกวน การจดจำดวงตามนุษย์หรือดวงตานก การประมวลผลภาพ 8K และอีกมากมาย” ทีม Mobile01 เสริม
Mobile01 ได้ข้อสรุปว่าหน่วยความจำแคชรวมของเซ็นเซอร์แบบซ้อนและวงจรการประมวลผลขนาดใหญ่สามารถทำให้กล้อง Alpha 1 ทำงานมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. ความเร็วในการอ่านข้อมูลที่รวดเร็วเป็นพิเศษที่ 1/200 วินาที
2. ความเร็วในการซิงโครไนซ์แฟลชชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ 1/200 วินาที
3. เอฟเฟกต์ชัตเตอร์หมุนต่ำพิเศษ
4. การตรวจจับโฟกัส/การรับแสง 120 ครั้งต่อวินาที
5. ความสามารถในการบันทึกวิดิโอ 30fps
6.ความสามารถในการถ่ายภาพต่อเนื่องโดยไม่ blackout
รีวิวนี้ภูมิใจที่จะแชร์ว่าคุณสมบัติหลักเหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ Alpha 1 เป็นกล้องที่มีเอกลักษณ์และทรงพลังอย่างที่เป็น
“ไม่มีทางที่จะพูดถึง Alpha 1 ได้โดยไม่พูดถึงเซ็นเซอร์ CMOS” ทีมรีวิวกล่าว
การคาดการณ์ของทีม Mobile01 คือจะมี "ในอนาคตจะมีช่างภาพจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่หันมาใช้ Alpha 1 ไม่ว่าจะเป็นช่างภาพวารสารศาสตร์ นักสารคดีเชิงนิเวศน์ ช่างภาพสายประกวด หรือแม้แต่ช่างาพโฆษณาที่ทำงานในสตูดิโอ" ซึ่งทุกคนต่างตั้งตารอดูผลงานที่ดีขึ้นของตัวเองเมื่อใช้ Alpha 1 ถ่ายภาพ
“รู้สึกได้ว่า Sony ยังคงมุ่งมั่นในการผลิตกล้องและวิศวกรของ Sony ก็ยังคงมุ่งมั่นค้นหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตัวอย่างเช่น ขณะนี้กำลังพัฒนาเซ็นเซอร์ที่ประสิทธิภาพแข็งแกร่งขึ้นและทำลายข้อจำกัดของชัตเตอร์ทั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์และแบบกลไก แต่ก็ยังใส่ใจกับรายละเอียดที่ช่างภาพจะมองเห็น การพัฒนาเหล่านี้ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ทำให้ทีมงานเราประทับใจมาก และหวังว่า Sony จะพัฒนากล้องที่ดียิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต” Mobile01 กล่าวสรุป
อ่านรีวิวต้นฉบับของ Mobile01 เกี่ยวกับ Alpha 1 ได้ที่นี่ บทรีวิวต้นฉบับเป็นภาษาจีนตัวเต็ม และแปลเป็นภาษไทยเพื่อจุดประสงค์ของบทความนี้