แนะนำ

เที่ยวรอบเมืองกับ โคกิ ยามากุจิ ปรมาจารย์แห่งภาพถ่ายทิวทัศน์เมือง

by Kohki Yamaguchi

Article Categories

โคกิ ยามากุจิ (@kohki) ทะยานขึ้นมามีชื่อเสียงด้วยภาพถ่ายที่งดงามน่าทึ่งของเขา เขายังเป็นผู้ก่อตั้ง @Discovertokyo ซึ่งเป็นชุมชนการถ่ายภาพที่ตั้งอยู่ในโตเกียว  หลังจบการศึกษาจาก University of Sydney ในปี 2017 ด้วยปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิตสองสาขาวิชาเอกด้าน Critical Thinking และ Visual Arts ตั้งแต่นั้นมา โคกิก็ทำงานเป็นฟรีแลนซ์อยู่ในโตเกียวร่วมกับแบรนด์ชื่อดังมากมาย   

จาก Instagram ของเขา โคกิได้ฟูมฟักและบ่มเพาะความรักในการถ่ายภาพทิวทัศน์เมืองของเขาโดยมีโตเกียวเป็นแบบถ่ายภาพหลัก สำหรับเขาแล้ว โตเกียวเป็นหนึ่งในเมืองที่ดีที่สุดของโลกด้วยความหลากหลาย ตลอดจนเขตต่าง ๆ ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำให้ที่นี่เป็นจุดหมายที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์เมือง  

Alpha 1 | FE 24mm F2.8 G | 1/2 sec | F9 | ISO 125

ภาพถ่ายทิวทัศน์เมืองให้ดียิ่งขึ้นด้วย Sony Alpha  

สำหรับโคกิแล้ว การถ่ายภาพทิวทัศน์เมืองของเขาดียิ่งขึ้นได้ด้วยกล้อง Sony Alpha 7R III คู่ใจและเลนส์ไพรม์ตัวโปรดของเขา “ผมเป็นคนที่ชอบใช้เลนส์ไพรม์ เลยลงเอยด้วยการครอบครองเลนส์ไพรม์เกือบทุกรุ่น สำหรับภาพทิวทัศน์เมือง ผมชอบใช้ Sony FE 14mm F1.8 GM, Distagon T* FE 35mm F1.4 ZA และ Sonnar T* FE 55mm F1.8 ZA”  

โคกิมักจะพกพาเลนส์คลาสสิกอย่าง FE 16-35mm F2.8 GM ไปถ่ายหนังด้วย ทว่า เนื่องจากเขาไม่สามารถพกพาเลนส์ประสิทธิภาพสูงเหล่านี้ไปด้วยหมดทุกตัวในทริปเดียวได้ เขาจึงพก FE 85mm F1.4 GM หรือ FE 70-200mm F2.8 GM OSS ซึ่งใช้งานได้ดีทั้งกับภาพนิ่งและวิดีโอ  

เมื่อเร็ว ๆ นี้ โคกิตกหลุมรักเข้ากับ Sonnar T* FE 55mm F1.8 ZA เพราะนอกจากจะทำงานได้ดีกับการถ่ายภาพทิวทัศน์แล้ว ยังสามารถทำงานได้ดีกับการถ่ายภาพหลายแนว ซึ่งรวมถึงภาพบุคคลด้วย “ผมจะพก Sonnar T* FE 55mm F1.8 ZA ไปถ่ายภาพกับผมด้วยถึง 99% ไม่ว่าผมจะไปถ่ายอะไร ด้วยขนาดที่เล็กและเบาของเลนส์ ประกอบกับความละเอียดที่ดีเยี่ยมและขีดความสามารถอันทรงพลังทำให้เลนส์ตัวนี้เป็นคู่หูที่ผมไว้ใจได้ในระหว่างการถ่าย”  

Alpha 1 | FE 24mm F2.8 G | 1.6 sec | F11 | ISO 100

สำหรับกล้องแล้ว โคกิเชื่อใจให้กล้องซีรีส์ Alpha ให้เป็นเครื่องมือบันทึกวิสัยทัศน์และการผจญภัยของเขา ประสิทธิภาพการประมวลผลได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ความสามารถในการโฟกัสอัตโนมัติที่ราบรื่น และความสะดวกที่สนับสนุนขั้นตอนการทำงานที่หนักหน่วงทำให้กล้องตัวนี้เป็นคู่หูที่ดีอย่างยิ่งในการถ่ายภาพกลางแจ้ง  

“กล้อง Sony Alpha ทุกรุ่นเหมาะมากในการถ่ายภาพทิวทัศน์ ปกติผมใช้ Alpha 7R III และเคยลองใช้ Alpha 1 ด้วย ทั้งคู่ล้วนมีช่วงไดนามิกที่ดีที่สุด ช่วยให้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์เมือง ผมขอแนะนำกล้องซีรีส์ Alpha 7R หรือ Alpha 1 หากคุณต้องการถ่ายภาพที่สวยจนน่าทึ่งหรือตัดสินใจที่จะพิมพ์ภาพถ่ายของคุณออกมาในวันข้างหน้า” โคกิกล่าวเสริม 

เนื่องจากภาพทิวทัศน์เมืองนั้นมักจะถ่ายภาพวิวเมืองที่กว้างใหญ่และมีรายละเอียดมากมายในทุกโครงสร้าง โคกิจึงรู้สึกว่าเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่ของกล้อง Alpha เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์เมือง โดยเฉพาะ Alpha 1 ที่มีเซ็นเซอร์ขนาด 50 ล้านพิกเซลนั้นถือเป็นตัวเลือกที่ดึงดูดใจของช่างภาพอย่างยิ่ง เพราะหมายถึงว่า การพิมพ์ภาพออกมาในขนาดใหญ่มากจะไม่ทำให้คุณภาพของภาพด้อยลงเลย เมื่อพิจารณาว่าภาพทิวทัศน์เมืองนั้นมักจะอัดแน่นไปด้วยรายละเอียด กล้อง Alpha 1 จึงเป็นกล้องในอุดมคติสำหรับการถ่ายภาพประเภทนี้  

“เซ็นเซอร์ 50 ล้านพิกเซลช่วยให้ผมสามารถครอปภาพต้นฉบับที่เหมาะสำหรับการโพสต์ลงโซเชียลมีเดียได้โดยไม่ลดทอนคุณภาพลง และผมยังคงมีภาพขนาดใหญ่คมชัดที่ผมพอใจอยู่ แล้วยังช่วยให้ผมสามารถสร้างภาพแนวตั้งจากภาพที่ถ่ายมาเป็นแนวนอนเพียงภาพเดียวได้ด้วย” เขากล่าวเสริม  

Alpha 1 | FE 24mm F2.8 G | 1.6 sec | F11 | ISO 100

จากฟิลเตอร์สู่เทคโนโลยี  

เพื่อจะได้ท้องฟ้าที่นุ่มนวล โคกิจะใช้ขาตั้งและฟิลเตอร์ VND (ฟิลเตอร์ตัวกรองแบบแปรผัน) ในช่วงเวลากลางวัน ทำให้ได้ภาพถ่ายทิวทัศน์เมืองที่ดูสงบนิ่งอันเป็นเครื่องหมายการค้าของเขา ฟิลเตอร์นี้ช่วยให้เขาสามารถลดความเร็วชัตเตอร์ลง ทำให้ได้ภาพทิวทัศน์เมืองที่ดูสงบนิ่งราวกับภาพฝีแปรงจากปลายพู่กันในสไตล์อิมเพรสชันนิสต์ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดขึ้นและมีส่วนสว่างที่เรืองรอง โคกิจะใช้ฟิลเตอร์ Pro-mist แทน เพื่อช่วยลดความจัดจ้านของภาพลง 

Alpha 1 | FE 55mm F1.8 ZA | 1/100 sec | F8 | ISO 160

ในฐานะคนที่เติบโตมาในยุคดิจิทัล โคกิใช้ทรัพยากรออนไลน์ในการพัฒนาผลงานมาโดยตลอด “ผมมักจะใช้ Google Earth ในการดูและค้นคว้าข้อมูลสถานที่ แผนผังอาคาร และการซ้อนตัวของภาพก่อนจะพยายามถ่ายภาพเสมอ ขั้นตอนนี้ช่วยให้ผมมองเห็นว่าภาพจะออกมาเป็นอย่างไร และควรถ่ายภาพจากจุดไหน หลังจากวันที่ถ่ายภาพมาแล้ว ผมจะมาปรับแต่งภาพและเก็บรายละเอียดใน Adobe Lightroom กับ Photoshop”  

เรื่องของนักท่องเที่ยวและจังหวะเวลา  

เมื่อพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมต่าง ๆ โคกิดูเหมือนจะหาทางออกที่สมบูรณ์แบบได้ “เวลาที่ผมต้องการภาพจุดท่องเที่ยวที่ดูสะอาดตา ผมจะไปให้ถึงสถานที่ท่องเที่ยวแต่เช้าตรู่ ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะมาถึงกัน” เขามักจะเปรียบเทียบรูปภาพกับช่างภาพคนอื่น ๆ และท้าทายตัวเองด้วยการถ่ายภาพสถานที่ที่ช่างภาพคนอื่น ๆ ไม่ได้พยายามถ่าย หรือจากช่วงเวลาที่คนอื่นมักไม่เลือกมาถ่ายภาพ ด้วยแนวทางนี้ เขาจึงค้นพบว่าเขาสามารถทดสอบตัวเองและสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่น่าทึ่ง แปลกใหม่ และไม่เหมือนใครได้   

Alpha 7R III | FE 16-35mm F2.8 GM | 18mm | 1/50 sec | F5.6 | ISO 100

สำหรับโคกิแล้ว การถ่ายภาพคือจังหวะเวลา ซึ่งเป็นเรื่องของการฉกฉวยช่วงเวลาที่เหมาะสมในฤดูกาลไว้ โดยเฉพาะเมื่อบันทึกภาพดอกไม้หรือเทศกาลที่เกิดขึ้นประจำฤดูกาล ทว่า เขาพบว่าเวลาออมแสง (Daylight saving) และวันคุ้มครองโลก (Earth day) หรือแม้แต่การซ่อมบำรุงไฟในเมืองก็เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ภาพมืดหม่นลง เวลาที่ถ่ายภาพทิวทัศน์เมือง โดยเฉพาะในเวลากลางคืน เขาแนะนำให้ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าไฟในสถานที่สำคัญต่าง ๆ จะเปิดอยู่ก่อนที่จะเริ่มต้นการถ่ายภาพ การตรวจสอบดัชนีหมอกควันก็เป็นอีกเรื่องสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเวลาการถ่ายภาพสถานที่จำกัด ปัจจัยเหล่านี้อาจจะสร้างหรือทำลายภาพถ่ายได้เลย 

Alpha 1 | FE 24mm F2.8 G | 1/50 sec | F3.5 | ISO 250

แสงและสถานที่  

โคกิสามารถคาดคะเนทิศทางของพระอาทิตย์ได้อย่างแม่นยำในแต่ละช่วงเวลาของวันจากแอป ซึ่งเป็นปัจจัยการจัดแสงของการถ่ายทิวทัศน์เมืองเวลากลางวัน ส่วนในเวลากลางคืน เขาจะเลือกถ่ายภาพในตอนคืนแรมเพื่อหลีกเลี่ยงแสงสะท้อนจากดวงจันทร์หรือการเผชิญกับแสงต่าง ๆ นอกจากนี้ โคกิยังหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีแหล่งมลพิษทางแสงสูง เช่น ในเขตเมืองหรือย่านชุมชน   

ภาพทิวทัศน์เมืองของเขาจะถ่ายสด ๆ ด้วยโปรไฟล์สีมาตรฐาน ต่างจากพรีเซ็ตสไตล์ที่มักมาเป็นคุณลักษณะของกล้อง เนื่องจากเขาพึงพอใจแล้วกับศาสตร์การให้สีของกล้อง Alpha “เวลาถ่ายภาพทิวทัศน์และทิวทัศน์เมือง ผมไม่รู้สึกถึงความเร่งรีบ การถ่ายภาพเดียวช่วยให้ผมได้ใช้เวลาและใช้ความคิดมาก ๆ กับการถ่ายภาพทุกภาพ สำหรับการถ่ายภาพแบบนี้ ผมคิดว่าการพินิจพิจารณาและใช้เวลาอย่างช้า ๆ เป็นสิ่งสำคัญ” เขากล่าว  

ISO ของเขาตั้งค่าไว้ที่ค่าต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (100-400) ในขณะที่รูรับแสงตั้งไว้ที่ F8 หรือแม้แต่ F11 สำหรับภาพทิวทัศน์ ด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่เท่ากันกับทางยาวโฟกัสหรือสูงสุดถึงสองเท่าของทางยาวโฟกัส 

Alpha 1 | FE 24mm F2.8 G | 1/100 sec | F8 | ISO 100

“ผมพยายามอย่างมากให้แน่ใจว่าภาพถ่ายของผมจะมีแนวคิดที่ต่อเนื่องระหว่างกันและมีสีสันที่ตรงกันที่สุด ซึ่งผมทำโดยการโฟกัสกับสีเพียงไม่กี่สีแทนที่จะมีภาพที่หลากหลาย ทั้งหมดนี้เซ็ตโทนโดยรวมของภาพถ่ายของผม” โคกิกล่าว “บางครั้งผมอาจจะเติมสีฟ้าลงในส่วนเงาและส่วนสว่างเพื่อภาพที่ดูเป็นโทนเย็นมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้คือ ภาพที่ดูมินิมอลและโมโนโทนโดยไม่ดูพยายามจนเกินไป” เขากล่าว   

ทั้งหมดนี้มีข้อเสียของมัน เพราะเขาถูกจำกัดสิ่งที่เขาสามารถโพสต์ได้ให้ตรงตามธีม และหลายครั้งจำต้องทิ้งภาพถ่ายที่ไม่ตรงตามสมดุลของโทนและความสวยงาม   

ช่างภาพสามารถบันทึกภาพทิวทัศน์เมืองได้จากหลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะกลางถนนหรือจากมุมมองของหลังคาหรือยอดตึกที่สูงที่สุด เราเพียงแต่ต้องสร้างสรรค์กับแนวทางการนำเสนอความมหัศจรรย์จากฝีมือมนุษย์ที่อยู่ตรงหน้าเรา แม้กล้อง เลนส์ และการจัดวางล้วนแต่มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อภาพที่ได้ แต่สไตล์ที่ไม่เหมือนใครของช่างภาพต่างหากที่จะเป็นสิ่งที่โดดเด่นสูงสุด  

Alpha 1 | FE 24mm F2.8 G | 1/250 sec | F5.6 | ISO 100
Article Theme

Kami ingin meminta akses ke Geolokasi Anda untuk memberi Anda pengalaman yang disesuaikan. Perlu diketahui bahwa Anda dapat menarik persetujuan Anda kapan saja melalui pengaturan browser Anda.