เคล็ดลับมืออาชีพ

มองโลกผ่านเลนส์ของช่างภาพแนวไฮบริด

Edo Lo ช่างภาพแนวไฮบริด มีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านการถ่ายรูปและวิดีโอ ความรู้และประสบการณ์ทั้งในศาสตร์และศิลป์แห่งการถ่ายภาพช่วยให้เขาสามารถบันทึกความงามที่แฝงอยู่ในความธรรมดาและชีวิตประจำวันของครอบครัวและผู้คนตามท้องถนน ในบทสัมภาษณ์นี้ Lo มาบอกเล่ามุมมองและสิ่งสำคัญที่สุดเวลาที่สามารถจับภาพที่จะเป็นความทรงจำเอาไว้ได้ ช่างภาพผู้นี้มองว่าภาพถ่ายและวิดีโอล้วนมีความงามในตัวเอง และอยากจะเห็นอนาคตของการถ่ายภาพที่มีการผสมผสานกันแบบไฮบริดเช่นนี้มากขึ้น

Edo Loช่างภาพแนวไฮบริด

เล่าให้เราฟังหน่อยว่าคุณเข้าสู่วงการภาพถ่ายแบบไฮบริดได้อย่างไร คุณฝึกถ่ายภาพและวิดีโอไปพร้อมกันหรือเปล่า  

ตอนผมอายุ 15 ช่วงนั้นเป็นยุค 90 ตอนนั้นผมยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์เลย ผมลองใช้กล้องฟิล์มคอมแพ็ค แล้วก็กล้องวิดีโอบันทึกเรื่องราวส่วนตัวในชีวิต เป็นพวกกิจวัตรประจำวัน แล้วก็เวลาเล่นสโนว์บอร์ด พอตอนปี 2010 ผมเริ่มถ่ายภาพและถ่ายวิดีโอเพราะว่าผมมีแบรนด์แฟชั่นของตัวเอง ซึ่งงานนี้ต้องใช้ผลิตภัณฑ์และภาพถ่ายเยอะมาก รวมทั้งการทำวิดีโอสำหรับสร้างแบรนด์ด้วย นั่นคือจุดเริ่มต้นของผมครับ 

Alpha 7 IV | FE 20mm F1.8 G |1/640 sec | F2.8 | ISO 125

ตอนคุณเริ่มถ่ายภาพแบบไฮบริดสำหรับแบรนด์ของตัวเอง คุณเรียนรู้ที่จะผสมภาพถ่ายเข้ากับวิดีโอได้อย่างไร

พอเป็นแบรนด์เสื้อผ้าแล้ว การถ่ายภาพสินค้าและถ่ายแบบ (ทำเป็นลุคบุ๊ค) เป็นสิ่งจำเป็นในธุรกิจ แต่สำหรับแบรนด์แฟชั่นเล็กๆ แล้ว นั่นไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไร

ปี 2010 เป็นช่วงที่กล้องถ่ายรูปกำลังพัฒนาไปเป็นการถ่ายหนัง นอกจากรูปถ่ายแล้ว ผมเลยทำเป็นหนังรูปแบบสั้นๆ ที่มีสไตล์เฉพาะตัวเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ในด้านการตลาด ผู้คนเริ่มสนใจการถ่ายวิดีโอ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจวิธีการสร้างหนังหรือวิดีโอ นั่นหมายความว่าผู้บริโภคจะต้องรู้สึกว่างานของเรานั้นใหม่และน่าสนใจเสมอ ซึ่งนั่นจะช่วยสร้างความคุ้นเคยกับแบรนด์ 

ผมมักสนใจวิธีที่สร้างภาพออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอหรือภาพถ่าย และในตอนนั้นเอง ผมได้รับเสียงตอบรับและความเห็นที่ดีหลังจากเริ่มถ่ายหนังไปได้บางส่วน ผมทำหนังประมาณ 3-4 เรื่องทุกๆ ซีซั่น/คอลเล็คชั่น หลังจากนั้นไม่นาน งานของผมก็เริ่มไปเข้าตาเอเจนซี่โฆษณา ผมเลยค่อยๆ ผันตัวมาถ่ายภาพ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมก้าวเข้าสู่วงการภาพถ่ายแบบไฮบริดครับ

ถ่ายด้วย Alpha 7 IV

คุณบันทึกภาพชีวิตของคุณบ่อยแค่ไหน แล้วปกติไปถ่ายภาพนิ่งและภาพวิดีโอที่ไหน

ผมถ่ายวิดีโอทุกวัน ไม่ได้คิดถึงเรื่องความยาวเลยครับ วิดีโออาจจะเป็นไอเดียที่จู่ๆ นึกขึ้นได้ตอนนั้น หรืออาจจะเป็นตอนที่ผมกำลังอินกับสิ่งรอบตัว ผมก็จะบันทึกสิ่งเหล่านั้นในรูปแบบวิดีโอหรือชุดภาพถ่าย ตอนนี้งานผมต่างจากสมัยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายขาย พวกคอนเทนต์ในตอนนี้ของผมส่วนใหญ่เป็นสารคดีการเดินทางรวมทั้งVlog ระยะหลังๆ นี้ผมก็เริ่มอินกับการภาพถ่ายแนวสตรีท

ผมชอบถ่ายภาพในทุกที่ๆ ไป เมื่อไรที่ผมมีเวลาสักสองสามชั่วโมง ผมจะออกไปเดินตามถนนเพื่อถ่ายภาพ หรือถ่ายวิดีโอสไตล์ Vlog ที่บ้าน หรือในละแวกนั้น ส่วนเวลาอื่น ผมนัดเพื่อน แล้วก็จะถ่ายบางสิ่งที่เราทำ กล้องของผมนี่ตามผมไปทุกที่

พอ Dolaลูกผมเกิด สถานที่ถ่ายภาพของผมก็ไม่ได้เป็นที่เฉพาะเจาะจง แต่เน้นไปที่วันหนึ่งๆ มีอะไรมากกว่าครับ

ถ่ายด้วย Alpha 7 IV

ในฐานะช่างภาพแนวไฮบริด คุณมีประสบการณ์ในการถ่ายภาพพอตัว คุณมักพกอุปกรณ์อะไรเวลาไปถ่ายงาน

ผมมักเอาของไปไม่เยอะมากเวลาถ่ายภาพครอบครัว อุปกรณ์ที่ผมเลือกส่วนใหญ่ก็มีกล้องถ่ายรูป เลนส์หนึ่งตัวที่เข้ากับสถานที่ถ่ายภาพ ขาตั้งกล้องที่เบา ฟิลเตอร์สำหรับสร้างเอฟเฟกต์ ฟิลเตอร์ลดแสง และไมโครโฟน พออุปกรณ์น้อยแบบนี้ ผมก็ไม่จำเป็นต้องมีกระเป๋ากล้อง ผมสามารถถือทุกอย่างด้วยมือเดียวได้ ส่วนเรื่องประเภทของเลนส์ ผมมักเลือกความยาวโฟกัสที่เหมาะที่สุดตามสถานที่ๆ ไป และสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น

ถ้าผมวางแผนไปถ่ายรูปที่ชายหาด นั่นหมายความว่าจะมีกิจกรรมเพิ่มขึ้น ผมก็จะเลือก Sony FE 35mm F1.4 GM หรือเลนส์ Sonnar T* FE 55mm F1.8 ZA สำหรับในร่ม ผมมักใช้ความยาวโฟกัสแบบมุมกว้าง อย่าง Sony FE 20mm F1.8 G หรือ Sony FE 24mm F1.4 GM เพื่อให้จับภาพได้มากขึ้นในพื้นที่แคบ ส่วนอุปกรณ์เสริม ผมชอบไมโครโฟน Sony ECM-B1M และกริ๊ปถ่ายภาพ Sony GP-VBT2BT

ถ้าหากเป็นเรื่องการเดินทางส่วนตัวที่ผมมักจะถ่ายรูปเยอะ ผมจะสะพายกระเป๋ากล้องใบใหญ่ไปเพราะต้องเอาเลนส์ไปเยอะกว่า เลนส์สามตัวที่ผมจะเอาไปด้วยคือ เลนส์ Sony FE 70-200mm F2.8 GM OSS และ Sony FE 24-105mm F4 G OSS กับเลนส์ไพร์มที่เหมาะ ผมชอบเลนส์ไพร์ม ตัวผมใช้ Sony FE 20mm F1.8 G และ FE 24mm F2.8 G. ส่วนเลนส์ซูม FE 24-105mm F4 G OSS และ FE 70-200mm F2.8 GM OSS ให้คุณภาพรูปดีมาก โดยเฉพาะตัว  FE 24-105mm F4 G OSS ที่ยังคงเป็นชิ้นโปรดของผม

ตามเข็มนาฬิกา บนซ้าย: Alpha 7 IV, FE 20mm F1.8 G, กริ๊ปถ่ายภาพ GP-VBT2BT, ไมโครโฟน ECM-B1M 

คุณจัดการเรื่องการตั้งค่ากล้องเวลาถ่ายรูปอย่างไร

สำหรับรูปถ่าย ผมมักใช้โหมดแมนวล (M)แต่บางครั้งก็สลับไปโหมดรูรับแสง (A)เพราะว่าภาพถ่ายครอบครัวมักจะมีช่วงที่มาแบบปุบปับไม่ทันตั้งตัว โหมดรูรับแสงช่วยกำหนดการเปิดรับแสง ทำให้ผมสามารถสนใจกับการบันทึกเรื่องราวได้ดีกว่า ถ้าเด็กเป็นตัวหลัก ผมใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องเพราะว่าโหมดนั้นดีที่สุดสำหรับช่วงเวลาที่มาเร็วไปเร็ว

ผมมักถ่ายวิดีโอโดยใช้การตั้งค่ากล้องตามนี้

1. โปรไฟล์สี ผมมักถ่ายโดยกำหนดความลึกไว้ที่ S-Log-3, 10-bit และใช้ตัวอย่างสีแบบ 4:2:2 ตัวเลือกพวกนี้ช่วยให้เกลี่ยสีได้สบายมาก เรียกได้ว่าสนุกเลยแหละครับ! บางครั้งผมก็จะใช้โปรไฟล์สี S-Cinetoneเพราะว่าให้ลักษณะสีผิวดีที่สุด แล้วก็เป็นโทนที่มีสีสวยด้วย แค่ปรับแต่งเล็กๆ น้อยๆ

2. ความละเอียดของวิดีโอ/จำนวนภาพนิ่ง ความละเอียดที่ 4K พร้อม 24 fps นั้นเหมาะที่สุดกับโหมด 7K Oversampling ของ Sony Alpha 7 IV เพราะได้ฟีลสมจริงและเป็นธรรมชาติมากกว่า ถ้าผมอยากเติมลูกเล่นหรืออะไรที่แตกต่างลงไปในวิดีโอ บางครั้งผมจะถ่ายเป็นภาพนิ่งระดับสูงที่ 60fps เพื่อจับภาพแบบสโลว์โมชั่น ซึ่งเป็นตัวเค้นอารมณ์ที่ดีเลยครับ

3. ออโต้โฟกัส ความเร็วโฟกัสตั้งไว้ที่ 4/3 และแนะนำให้เปิดตัวโหมดถ่ายภาพทั้งหมดรวมกันเพื่อให้ได้โฟกัสที่นุ่มนวลขึ้นเวลาสลับโฟกัส ผมยังได้ประโยชน์จากตัวเมนูช่วยกำหนดโฟกัส ซึ่งสะดวกมาก แค่ดึงวงแหวน กล้องก็จะปรับไปเป็นโหมดแมนวลโดยอัตโนมัติ เป็นเมนูที่มีประโยชน์เวลาที่เราต้องการการโฟกัสแบบเน้นๆ

เวลาที่ครอบครัวเป็นองค์ประกอบหลักของภาพถ่าย คุณถ่ายทอดเรื่องราวเบื้องหลังภาพถ่ายได้อย่างไร

สำหรับผม เรื่องราวนั้นสำคัญกว่าภาพถ่ายที่สมบูรณ์แบบ อีก 10-20 ปีหลังจากนี้ เรื่องราวที่ภาพถ่ายเหล่านั้นเป็นตัวบอกเล่าจะเป็นสิ่งที่มีความหมาย

เวลาผมต้องการทำให้แน่ใจว่าผมสามารถบันทึกลักษณะของคนที่ผมถ่ายได้อย่างแท้จริง ผมจะพยายามถ่ายวิดีโอสั้นๆ แบบจังหวะเผลอเพื่อให้เป็นธรรมชาติที่สุด ในสถานการณ์แบบนั้น ถ้าวิดีโอสั่นๆ หน่อยถือเป็นเรื่องปกติ และผมยิ่งอยากให้เป็นแบบนั้น เพราะมันทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นธรรมชาติและมีความใกล้ชิดมากกว่า การควบคุมการสั่นนี่ถือว่าเป็นทักษะอย่างหนึ่งนะครับ ผมเชื่อมือผมในการควบคุมลำดับภาพ แต่บางครั้งผมก็เปิดระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวด้วย เพราะช่วยประหยัดเวลา แล้วช่วยให้ผมทำอะไรได้ไวขึ้น เพื่อที่ผมจะได้ถ่ายภาพได้อย่างสมบูรณ์

Alpha 7 IV | FE 20mm F1.8 G | 1/2000 sec | F2.5 | ISO 125

คุณบอกว่าภาพถ่ายและภาพวิดีโอเป็นวิธีบอกเล่าเรื่องราว แล้วคุณก็ชอบทั้งสองอย่าง การเริ่มต้นเข้าสู่การถ่ายภาพแบบไฮบริดเมื่อปี 2010 ของคุณช่วยสร้างพื้นฐานให้กับโปรเจคท์ในตอนนี้ของคุณ และพัฒนาวิธีบอกเล่าเรื่องราวของคุณได้อย่างไร 

เป็นคำถามที่น่าสนใจนะครับ     

ผมเคยคุยกับช่างภาพชื่อดังคนหนึ่งที่ถ่ายภาพให้ศิลปิน เขากลับมาถ่ายรูปในแบบฟรีสไตล์อีกครั้งเพราะเขาได้แรงบันดาลใจมาจากวิธีที่ผมถ่ายภาพ สำหรับเขา ภาพของผมมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเขาคิดว่าเป็นเพราะผมเป็นนักสร้างหนัง เขารู้สึกว่ารายละเอียดในงานของผมมักจะมีเซนส์ที่ทำให้อยากรู้อยากเห็นแฝงอยู่ เขาถามผมว่า “คนทำหนังคิดแตกต่างออกไปรึเปล่า ถึงทำให้ผลิตผลในขั้นสุดท้ายแตกต่างออกไป” การที่ผมได้ยินอะไรแบบนี้จากคนเก่งๆ ในวงการนั้นเป็นเรื่องน่าดีใจ แต่ก็ทำให้ผมหยุดคิดเพื่อถามตัวเองว่า “มุมมองของช่างภาพนิ่งแตกต่างจากมุมมองของช่างวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหวหรือเปล่า”

Alpha 7 IV | FE 24-105mm F4 G OSS | 38mm | 1/250 sec | F4.0 | ISO 100

ภาพนิ่งของผมมักเป็นภาพถ่ายแนวสตรีทและไลฟ์สไตล์ สำหรับผม ภาพนิ่งมีไว้จับเรื่องราวที่มีพลัง ภาพที่มีความสดใสหรือสดชื่นช่วยให้คนที่เห็นภาพนั้นๆ จินตนาการได้ว่าภาพและเรื่องราวต่างๆ มาอยู่ในภาพได้อย่างไร

ดังนั้น เวลาที่ผมถ่ายรูป ผมพยายามใช้แสง เงา เส้น รูปร่าง พื้นที่ และองค์ประกอบในการบันทึก “เรื่องราว” ที่มีชีวิตให้มากที่สุด

บางครั้ง รูปถ่ายใบเดียวก็สามารถบอกเล่าเรื่องราวได้ แต่หลายครั้งเราก็ต้องรวมองค์ประกอบและส่วนที่แตกต่างเข้าด้วยกันเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือในครั้งอื่นๆ ก็จำเป็นต้องใช้ภาพถ่ายจำนวนมากในการบอกเล่าเรื่องราวสักเรื่องหนึ่ง เมื่อเราหันกลับมาหาภาพยนตร์ เวลาเราอยากถ่ายภาพออกมาให้ดี เราต้องคำนึงถึงแสง เงา เส้น รูปร่าง พื้นที่ และองค์ประกอบ เพื่อเติมเต็มและทำให้หนังหรือวีดีโอนั้นสมบูรณ์ด้วยมุมมองที่สามารถสื่อสารได้และมีประสิทธิภาพ

ทักษะสองอย่างนี้เวลามองจากมุมที่ใช่มีความคล้ายกัน แม้ว่าการกระทำกับผลที่ได้จะต่างกัน ผมรู้สึกว่าการถ่ายแบบไฮบริดแบบนี้ทำให้ผมมีอิสระที่จะสลับไปมาระหว่างตัวกลางทั้งสอง และได้เรียนรู้จากทักษะทั้งสองด้าน  

ช่างภาพแนวไฮบริดระดับสมัครเล่นจะเริ่มเล่าเรื่องราวที่น่าประทับใจได้อย่างไร แล้วอะไรคือสิ่งที่คุณมองว่าเป็นองค์ประกอบหลักๆ ที่จะช่วยให้พวกเขาถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้ดียิ่งขึ้น 

มีสิ่งสำคัญบางอย่างที่เราต้องใส่ใจเวลาถ่ายภาพและวิดีโอ

สำหรับภาพถ่าย

ภาพถ่ายที่ดีจำเป็นต้องมีจุดประสงค์เพื่อดึงดูดความสนใจ เราเลยต้องคิดว่าองค์ประกอบใดในภาพของเราที่ดึงดูดสายตา ซึ่งนั่นจะเป็น “ธีม” ที่เราต้องการแสดงในรูปถ่าย หลังจากนั้น แทนที่เราจะถ่ายภาพต่อๆ ไปแบบส่งๆ หรือถ่ายไปงั้นๆ เราลองคิดว่าจะออกแบบภาพอย่างไร เราจะได้ถ่ายทอดและแสดงธีมให้คนที่ได้รับชมงานของเราได้ชัดเจนขึ้น พวกเขาจะได้รู้สึกถึงเรื่องราว

นี่คือองค์ประกอบสำคัญสามอย่างที่เราควรนึกถึงไว้

1. การจัดวางองค์ประกอบของภาพช่วยให้คนที่ได้เห็นภาพค้นพบเรื่องราว   
2. การใช้แสง เงา และเส้นอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแสดงธีมออกมาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
3. การใช้ทฤษฎีสีอย่างมีความหมาย ให้สีเหล่านั้นเป็นตัวแสดง สีของตัวหลักของเราควรสะท้อนหรือตรงข้ามกับสภาพแวดล้อม ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเวลาเรามองภาพถ่าย คนตอบสนองต่อสีที่ตรงข้ามกันได้เร็วที่สุด

Alpha 7 IV | FE 35 mm F1.4 GM |1/250 sec | F1.4 | ISO 2500

พยายามเรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์ ไม่ว่าจะจากหนังสือภาพถ่ายหรืองานในชุมชนก็ตาม เราจำเป็นต้องเรียนรู้และหางานที่เราชอบที่สุดจากสิ่งเหล่านั้น เวลาเรา ‘สร้างสรรค์งาน’ เราอาจลองถ่ายภาพด้วยความรู้สึกแบบเดียวกัน นั่นคือสิ่งที่ผมเรียกว่า ‘ศิลปะทดลอง’ (Sampling art)เราอาจเจอและสร้างลักษณะสร้างสรรค์รวมถึงสิ่งที่เราถนัดในกระบวนการโดยผ่านการปฏิบัติแบบนี้ พอเราฝึกฝน เราก็จะค่อยๆ เสริมสร้างสไตล์การสร้างสรรค์ของเราเอง โดยปรับกระบวนการและสิ่งที่เราถนัดไปเรื่อยๆ 

สำหรับภาพยนตร์

จริงๆ แล้ว กระบวนการก็เหมือนการถ่ายรูปนั่นแหละ ความแตกต่างอย่างเดียวคือคอนเทนต์ที่เราถ่ายนั้นเคลื่อนที่ได้ ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้เลย

เริ่มฝึกกับช็อทนิ่งๆ ก่อน ไม่ว่าจะใช้มือถือกล้องหรือใช้ขาตั้งกล้อง บันทึกเรื่องราวในฉากด้วยมุมมองแบบช่างภาพ การฝึกแบบนี้จะช่วยให้เราคิดถึงรายละเอียดในภาพได้ แล้วพอคุณชินกับการบันทึกเรื่องราวด้วยเลนส์ฟิกซ์แล้ว ทุกอย่างก็เป็นเรื่องง่ายขึ้นเวลาที่เลนส์คุณขยับ

สะสมประสบการณ์สร้างสรรค์ในชีวิต แล้วทำให้เครื่องมือและอุปกรณ์เป็นสิ่งหรือตัวเสริมเพื่อเรียนรู้ เช่น ผมใช้ Sony Alpha 7 IV เพราะเป็นกล้องที่สามารถถ่ายภาพและถ่ายหนังได้ เวลาสลับไปมาระหว่างรูปถ่ายกับหนัง โหมดการถ่ายทั้งสองแบบมันสอดคล้องกัน โดยที่เราอาจลองบีบพลังเอาไว้ในภาพเวลาถ่ายรูป แล้วค่อยขยายเรื่องราวเวลาถ่ายภาพยนตร์ก็ได้

Alpha 7 IV | FE 35 mm F1.4 GM | 1/160 sec | F1.4 | ISO 200

ฟีเจอร์ของกล้องช่วยคุณเวลาถ่ายภาพแบบไฮบริดได้อย่างไร คุณช่วยเล่าให้เราฟังถึงประสบการณ์ที่กล้อง Alpha 7 IV ช่วยให้คุณถ่ายทอดมุมมองของคุณออกมาได้หรือไม่

ในช็อทเปิดตัว การตั้งค่าโปรไฟล์ของผมอยู่ที่ PP11 S-CINETONE ซึ่งใกล้เคียงกับความมืดของสิ่งแวดล้อม เวลาเกลี่ยสีภาพหลังการถ่ายแล้ว ผมเพิ่มความสว่างให้ท้องฟ้านิดหน่อย แต่เก็บความมืดของพื้นและผู้คนไว้ ผมมองว่าการใช้ S-CINETONE นี่ค่อนข้างสะดวกเวลาต้องเกลี่ยสีภาพหลังถ่ายงานเสร็จนะ เพราะมันช่วยให้ผมสร้างสรรค์ความแตกต่างได้ และช่วยให้ผมปรับระดับสีของพระอาทิตย์ตกได้ตามที่ผมชอบ

ถ่ายด้วย Alpha 7 IV

คลิปตอนช่วงที่ 0:53 – 0:56 นั้นถ่ายตอนถือกล้องด้วยมือ และผมคิดว่าภาพแม่และเด็กในวิวที่กว้างใหญ่แบบนั้นเป็นสิ่งที่สวยงามมาก ผมคิดว่าถ้าเป็นช็อทแบบฟิกซ์คงจะดียิ่งกว่าเดิมด้วยซ้ำ ผมไม่มีเวลาตั้งขาตั้งกล้อง ผมเลยรีบวิ่งไปที่จุดนิ่ง เปิดระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวแล้วก็ลดมือลงต่ำเพื่อให้กล้องอยู่ใกล้กับพื้นทราย นี่ทำให้เกิดช็อทที่นิ่งมาก ซึ่งคล้ายกับเวลาที่ถ่ายด้วยกล้องที่ตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องได้อย่างน่าประหลาดใจ ซึ่งผมก็ยังคงรักษาภาพมุมที่ระดับต่ำเป็นพิเศษ

มีช็อทยาวที่ถ่ายในระหว่างถือกล้องแล้วก็เดินไปด้วย ต้องขอบคุณเจ้า Alpha7 IV ของผมที่ช่วยให้ภาพไม่สั่นได้อย่างน่าเหลือเชื่อ ลักษณะแบบสโลว์โมชั่นนี้ยังดึงรายละเอียดของภาพออกมาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รูรับแสงนี่ตั้งค่าไว้ที่ F1.4 แต่ตัวออโต้โฟกัสสามารถโฟกัสได้แม่นยำกว่าตาของมนุษย์ และการไหลลื่นของโฟกัสยังทำได้อย่างสบาย การตั้งค่าในวิดีโอนี้อยู่ที่ S-Log-3, 4k 60p, AF-C เปิดโหมดระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวและโหมดแก้โฟกัสเวลาเคลื่อนที่ไว้ 

Alpha 7 IV | FE 12-24 mm F2.8 GM | 19mm | 1/250 sec | F2.8 | ISO 3200

ระหว่างถ่าย ลูกผมขยับเร็วมากแล้วก็วิ่งไปดึงผ้าม่าน ผมรีบคลานใต้โต๊ะตามไปแล้วก็ถ่ายภาพ ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ฟีเจอร์โฟกัสตาอัตโนมัติของ Alpha 7 IV สามารถจับประกายในตาของเด็กได้

Alpha 7 IV | FE 35 mm F1.4 GM | 1/250 sec | F1.8 | ISO 100

ตอนที่แม่และลูกเข้ามาในรูป ผมถ่ายภาพนี้โดยแตะนิ้วเบาๆ บนจอ LCD ของกล้องเพื่อตามตัวหลักที่ได้แตะไป ตัวฟังก์ชั่นหน้าจอสัมผัสมีประโยชน์มากเวลาถ่ายวัตถุที่เคลื่อนไหว โดยเฉพาะในด้านโฟกัสและติดตามการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ ภาพนี้ยังมีความละเอียดสูงถึง 33 เมก้าพิกเซ็ล ผมเลยตัดภาพหลังถ่ายงานเสร็จ แล้วก็ปรับรูปให้ได้การวางองค์ประกอบที่ตรงใจมากขึ้น

ข้อคิดจาก Edo  

Edo เชื่อว่าภาพถ่ายและวิดีโอเป็นโหมดสร้างสรรค์ที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีสำหรับผู้ผลิตคอนเทนต์ เมื่อเขาตระหนักได้ว่าช่างภาพรอบตัวหันมาถ่ายภาพยนตร์มากขึ้น และช่างวิดีโอก็หันมาถ่ายภาพมากขึ้น เขาเชื่อว่าการถ่ายภาพแบบไฮบริดมีบทบาทสำคัญในการจับภาพช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดและไม่มีใครคาดคิดที่สุดในชีวิต

Article Theme

Kami ingin meminta akses ke Geolokasi Anda untuk memberi Anda pengalaman yang disesuaikan. Perlu diketahui bahwa Anda dapat menarik persetujuan Anda kapan saja melalui pengaturan browser Anda.